เมนู

10. วิตักกสัณฐานสูตร


[256] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

เรื่องนิมิต 5


[257] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบอธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต 5 ประการ ตาม
เวลาอันสมควร. นิมิต 5 ประการเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้วมนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบ
ด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ
ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่น ในภายในนั้นแล.
เหมือนช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็กตอก โยก ถอน
ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่ออาศัย
นิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบ
ด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอัน
เป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อม
ละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้
จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล.
[258] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่น
จากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล
แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์
เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้. เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ
ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว รู้สึกอึดอัด
ระอา เกลียดชังต่อซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ
(ของตน) แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น
อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควร
พิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้
วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก
แม้อย่างนี้ ดังนี้. เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป

อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม
ตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล.
[259] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษ
ของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง
โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก
ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ
ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการจะเห็นรูปที่ผ่าน
เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสียแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อ
เธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นภายในนั้นแล.
[260] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึกไม่
ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะ
บ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิ-
การสัณฐานแห่งวิตก สังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่ง
วิตก สังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ
บ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั่นแล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษ
พึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็วทำไมหนอ ถ้ากระไร

เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อย ๆ เดิน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราค่อยๆ
เดินไปทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน. เขาพึงมีความคิดอย่างนี้
อีกว่า เราจะยืนทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาพึงนั่ง. เขาพึงมีความ
คิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ ถ้ากระไรเราควรนอน เขาพึงลงนอน. ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษคนนั้น มาผ่อนทิ้งอิริยาบถหยาบๆเสีย พึงสำเร็จอิริยา-
บถละเอียด ๆ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น หากว่าเมื่อเธอ
มนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
[261] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐาน
แห่งวิตก สังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ภิกษุนั้น
พึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต
เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน
เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่า
นั้น จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้
แล้ว บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่นแม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตก สังขารของวิตกแม้เหล่านั้น
อยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่มบีบคั้น
บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น
บังคับจิตอยู่ได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง

โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้ง
มั่นในภายในนั่นแล.

ความเป็นผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก


[262] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการ
นิมิตใดอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ
บ้าง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน
เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล. เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึง
ความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่
ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล. เมื่อภิกษุนั้นถึง
ความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่
ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสัณฐานแห่ง
วิตก สังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะ
ละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล. เมื่อภิกษุนั้นกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น